- จากคอลัมน์ “ภาพในอดีต” ลงในหนังสือสนองโอฐ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 212 เมษายน – มิถุนายน 2560
วันนี้ในอดีต โดย พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย (Thai Red Cross Museum)
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2488 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นได้ส่งตัวทหารผ่านศึกที่อยู่ในค่ายทหารต่าง ๆ ที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยมาให้สภากาชาด และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ดูแลรักษา โดยใช้แพทย์ พยาบาลคนไทย ภาพบางส่วนเหล่านี้พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทยได้ซื้อมาจาก Australian War Memorial ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเป็นภาพที่หายาก
- เปิดคอลัมน์ใหม่ พิพิธเพลินเชิญชมพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย

พิพิธเพลินเชิญชมพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ขอนำเสนอ#ภาพประวัติศาสตร์ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าหญิงมิชิโกะ เสด็จเยี่ยมกิจการสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2507 โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มารอรับเสด็จที่ตึกบริพัตร และทรงนำเสด็จชมกิจการบรรเทาทุกข์ กองอาสากาชาด กองวิทยาศาสตร์ และพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญแก่เจ้าหญิงมิชิโกะ พร้อมนี้ เจ้าหญิงมิชิโกะได้ถวายเงิน10,000 บาท บำรุงสภากาชาดไทยอีกด้วย
ชมภาพประวัติศาสตร์เพิ่มเติมที่ http://museum.redcross.or.th/
- museum

- พระศิริโฉมของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ความทรงพระศิริโฉมงามเลิศ ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ตอนที่เจ้าชายออสคาร์ ดยุค ออฟ กอทแลนด์ สวีเดน เสด็จมาเยือนประเทศไทย แล้วทรงกล่าวชมถึงสมเด็จพระบรมราชินีของสยามประเทศไว้อย่างงดงาม
(ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ยังทรงดำรงพระยศเป็น Queen ของประเทศเพียงพระองค์เดียวอยู่)
ในกลอนสังเกตพระอัชฌาสัยเจ้านาย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจำได้ จากที่เจ้านายในรัชกาลที่ ๔ ทรงจำไว้และท่องกันต่อ ๆ มา นั้น ในกลอน กล่าวถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี เมื่อพระชันษาเพียง ๖ พรรษา ว่า “หน้าตาคมสัน องค์สว่าง”
และขณะเมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศ พระบรมราชเทวี (ในสมัยนั้นคือ เอกอัครมเหสี หรือพระราชินี) เมื่อพระชันษาประมาณ ๒๒-๒๓ เจ้าชายออสคาร์ ดยุคออฟก๊อตแลนด์ แห่งสวีเดน เสด็จเป็นพระราชอาคันตุกะมาเมืองไทย เจ้าชายได้ทรงบันทึกในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ ตอนหนึ่งทรงเล่าถึงพระราชินี (Queen) ไทยเอาไว้ว่า
“…เราเดินผ่านท้องพระโรงใหญ่ ๆ หลายห้อง และห้องสวย ๆ อีกไม่น้อย จนผ่านสวนในร่ม ซึ่งมีน้ำตกเป็นสายจากถ้ำจำลองแล้ว ...
- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาจักรีสิรินธร สภากาชาดไทยรวมน้ำใจชาวประชา

พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ขอเชิญชวนประชาชนและบุคลากรสภากาชาดไทย ร่วมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภากาชาดไทย ครบ ๑๒๒ ปี ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๘
โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้ชื่อ ” ๖๐ พรรษา มหาจักรีสิรินธร สภากาชาดไทยรวมน้ำใจชาวประชา” ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
- ประวัติงานกาชาด

สภากาชาดไทยได้เริ่มขึ้นเมื่อครั้งสมัยแผ่นดิน “พระพุทธเจ้าหลวง” รัชกาลที่ 5 ในต้น ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ซึ่งประเทศสยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ทำให้เกิดการสู้รบกันยังผลให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และได้รับความทุกข์ทรมานเป็นจำนวนมาก โดยในขณะนั้นยังไม่มีกองการกุศลใดๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในยามสงครามอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
“พระพุทธเจ้าหลวง” ทรงมีความห่วงใยเหล่าทหารหาญและบรรดาอาสาสมัครที่เสียสละเอาชีวิตร่างกายต่อสู้เพื่อรักษาพระราชอาณาเขต จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436 เพื่อทำหน้าที่จัดส่งยา เวชภัณฑ์ อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ ไปยังทหารและประชาชนที่เดือดร้อน อันเป็นหลักการที่ละม้ายกับหลักการของสภากาชาดสากล
นอกจากนั้น พระองค์ยังมีพระมหากรุณาธิคุณแก่องค์การที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ และพระบรมราชานุญาตให้เรี่ยไรได้เงินเป็นจำนวนถึง 443,716 บาท อันเป็นเงินจำนวนมหาศาลในสมัยนั้น นับว่าเป็นการรณรงค์จัดหารายได้ครั้งแรกเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อตั้งองค์การ
ต่อมาสภากาชาดไทยได้จัดให้มีงานกาชาดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2465 – 8 เมษายน 2466 (ขณะนั้นเปลี่ยนพุทธศักราชในเดือนเมษายน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหา “ประชาสมาชิก” ให้แก่สภากาชาดไทย การสมัครเป็นสมาชิกนี้ เสียค่าบำรุง 1 บาทต่อปี ...
- ท่านเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ศึกษาดูงานฯ

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ศึกษาดูงานด้านจดหมายเหตุ ณ ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ โดยมี นางอนงค์ สวรรค์วัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ ให้การต้อนรับ
- ๑๘ ปี กับสำนักงานบริหาร ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘

สำนักงานบริหาร ถือกำเนิดตามข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕๔) พุทธศักราช ๒๕๓๙ ในระยะเริ่มแรกใช้ชื่อว่า “สำนักบริหาร” มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการทั่วไปของสภากาชาดไทย มีอุปนายกเป็นประธาน ประกอบด้วยเลขาธิการฯ เหรัญญิกฯ ผู้ช่วยเลขาธิการฯ และผู้ช่วยเหรัญญิกฯ (ถ้ามี) โดยเลขาธิการฯ เป็นผู้ดำเนินงาน มีหน่วยงาน ในสังกัด ดังนี้
๑. ฝ่ายเลขานุการกิจ
๒. ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
๓. ฝ่ายตรวจสอบภายใน
๔. ฝ่ายนโยบายและแผน
๕. ฝ่ายประสานงานเหล่ากาชาดภูมิภาค
๖. หน่วยงานชำนัญพิเศษต่าง ๆ
ต่อมาในปี ๒๕๔๐ คณะกรรมการพิจารณาการจัดระบบองค์กรและการแบ่งส่วนงาน เห็นชอบในการตั้งฝ่ายกฎหมาย สังกัดสำนักบริหาร กำหนดหน้าที่รับผิดชอบด้านนิติกรทั้งหมด ...
- กาลครั้งหนึ่ง…วันนี้เมื่อ ๗๙ ปีที่แล้ว

เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๘ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สภานายิกาสภากาชาดสยาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะกรรมการสภากาชาดสยาม ณ ตึกจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จสภานายิกาฯ อันเป็นพระราชกิจหนึ่งที่ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพระราชทานขวัญและกำลังใจแก่ผู้สนองงานใต้เบื้องพระยุคลบาท
พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
- ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗ รำลึก ๑๕๒ ปี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

เนื่องในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗ ครบรอบ ๑๕๒ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิการเจ้า พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
“สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิการเจ้า” เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๕ มีพระนามเดิม “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นสมเด็จพระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ ๕
ขณะยังดำรงพระชนม์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย เป็นผู้นำสตรียุคใหม่ มีพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์หลายด้าน ส่งเสริมบทบาทของสตรีไทยให้ทัดเทียมบุรุษ ทำนุบำรุงพระศาสนา ...